วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

สูตรขนมหวานไทย : เม็ดขนุน

สิ่งที่ต้องเตียม

* ถั่วเขียวเลาะเปลือก 450 กรัม
* น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว)
* น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำเชื่อม)
* น้ำกะทิ 400 กรัม
* น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำเชื่อม)
* ไข่เป็ด 5 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่แดง)

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที)
2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้ว ให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า พร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว (ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น (ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)
4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงเม็ดขนุน
5. ทำน้ำเชื่อมโดยผสมน้ำตาลและน้ำเปล่า นำไปเคี่ยวในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้) จนเหนียวข้นเป็นยางมะตูม จึงปิดไฟ
6. ตอกไข่และเลือกเอาเฉพาะไข่แดงมารวมกัน เขี่ยพอให้ไข่แดงแตก จากนั้นจึงนำเม็ดขนุนที่ปั้นเตรียมไว้ใส่ลงไปแช่ในไข่แดงทีละเม็ด แล้วจึงนำไปใส่ในน้ำเชื่อม พยายามอย่าให้ติดกัน พอใส่ลงไปมากแล้วจึงนำกระทะไปตั้งบนไฟอ่อนๆจนสุกทั่งจึงตักออกมาพัก ทำซ้ำเช่นนี้จนเม็ดขนุนที่ปั้นไว้หมด
7. จัดเม็ดขนุนใส่จาน เสริฟทานเป็นของว่างในวันสบายๆ

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

สังขยาใบเตย

ขั้นตอนการทำลูกชุบ

'ลูกชุบ' ขนมที่มีรูปร่างและสีสันที่หลากหลาย แปลกตา แต่จะเป็นรูปร่างใด ต้องตามใจผู้ปั้น ซึ่งจะมีขั้นตอนการทำอย่างไรนั้น มีวิธิการทำมาฝากค่ะ...
ลูกชุบ, ขนมไทย
ส่วนผสม
 1. ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1/2 กก. 2. หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง 3. น้ำตาลทราย 1/2 กก. 4. วุ้นผง 5 ช้อนโต๊ะ 5. น้ำ 5 ถ้วยตวง
วัสดุที่ต้องใช้
1. กระทะทองเหลือง 2. ไม้พาย 3. ไม้เสียบลูกชิ้น หรือไม้จิ้มฟัน 4. สีผสมอาหาร 5. จานสี 6. พู่กัน
ลงมือเข้าครัว
1. เริ่มจากการล้างถั่วที่เลือกเอาเมล็ดเสียออกแล้วด้วยน้ำสะอาด 1 ครั้ง เทน้ำทิ้ง แช่ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งประมาณ 3-4 ชั่วโมง เทน้ำทิ้งแล้วล้างอีกครั้ง
2. นำถั่วที่ล้างสะอาดแล้วไปนึ่งให้สุก จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด
3. นำน้ำตาลและกะทิมาต้มด้วยไฟอ่อนให้ส่วนผสมเข้ากันดี ในขั้นตอนนี้ควรคนตลอดเวลาเพื่อไม่ให้กะทิเป็นลูก
4. นำถั่วที่บดจนละเอียดแล้วใส่ลงในกระทะทองเหลือง ตั้งไฟปานกลาง ค่อยๆทยอยใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวได้ที่แล้วลงไปทีละน้อย เทไปกวนไปจนหมด ที่สำคัญต้องกวนไปในทางเดียวกัน จนถั่วเริ่มแห้ง ให้หรี่ไฟลง รอจนถั่วเริ่มแห้งและร่อนออกจากกระทะ จึงนำออกมานวดจนเนียน
5. ขั้นตอนต่อไปก็ขึ้นอยู่กับฝีมือการปั้นของแต่ละคน เมื่อปั้นได้รูปแล้ว ก็นำมาเสียบกับไม้จิ้มฟัน หรือไม้เสียบลูกชิ้น ระบายสีตามชอบ
6. ระบายสีเสร็จแล้ว ก็นำไม้ไปเสียบไว้ที่โฟม รอจนสีแห้ง
7. หัมาทำน้ำวุ้นกันบ้าง เริ่มจากนำวุ้นผงและน้ำใส่หม้อคนให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งไฟปานกลาง หมั่นคนจนวุ้นใส ยกลงทิ้งไว้สักครู่จะมีฟองลอยขึ้นมา ให้ใช้ช้อนตักฟองทิ้ง
8. นำถั่วที่ลงสีแล้วชุบกับวุ้น 1 ครั้ง ปักบนโฟม รอให้แห้ง แล้วจึงชุบครั้งที่ 2 และ 3 เมื่อวุ้นแข็งตัวดีแล้วจึงถอดออกจากไม้จิ้ม ใช้กรรไกรตัดส่วนที่ไม่ต้องการทิ้ง แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
แม้จะดูว่ามีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก แต่หากช่วยกันทำหลายๆ คนแล้ว คงเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับครอบครัวแน่นอน...


แหล่งข้อมูล:http://women.sanook.com/

สาคูไส้หมู


ส่วนผสมไส้ สาคูไส้หมู

เนื้อหมูสับ 400 กรัม
หัวหอมแดง 400 กรัม
ถั่วลิสงคั่วป่นละเอียด 1 ถ้วยตวง
พริกไทยเม็ด 1/2 ช้อนชา
รากผักชีหั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมหั่นหยาบ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 6 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลมะพร้าว 3/4 ถ้วยตวง

วิธีทำไส้สาคูไส้หมู


1. โขลกพริกไทย รากผักชี กระเทียมให้ละเอียด
2. หัวหอมแดงหั่นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ
3. ตวง น้ำมันใส่กระทะตั้งไฟ ใส่เครื่องที่โขลกไว้ลงไปผัดพอหอม ใส่หมูผัดจนหมูสุก ใส่หัวหอมแดง ปรุงรสด้วยน้ำปลา ซีอิ๊วขาว ชิมรสให้มีรสเค็มหวานจัด ผัดต่อไปจนแห้งและเหนียว
4. ยกลงใส่ถั่วลิสงคั่วป่นละเอียด ผัดให้เข้ากัน ตักใส่จานทิ้งไว้จนเย็น

ส่วนผสมสาคูไส้หมู

สาคูเม็ดเล็ก 3 ถ้วยตวง
กระเทียมสับละเอียด 1/4 ถ้วยตวง
น้ำมัน 1/2 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า

วิธีทำสาคูไส้หมู


1. กระเทียมสับละเอียด เจียวกับน้ำมันให้เหลือง ตักขึ้น
2. เอา สาคูล้างน้ำ รินน้ำออก ให้มีน้ำเหลืออยู่บ้าง ทิ้งไว้สักครู่ พอสาคูขึ้นจึงนวดเบาๆมือ พอปั้นได้ ถ้าสาคูแห้งไปก็เติมน้ำเล็กน้อย นวดพอเข้ากัน
3. หยิบสาคูมาก้อนหนึ่ง แผ่สาคูให้บางตักไส้ใส่ตรงกลาง เอาสาคูหุ้มไส้ให้มิด
4. ฉีกใบตองปูลังถึง ทาน้ำมันบนใบตองให้ทั่ว หยิบสาคูเรียงใส่ลังถึง อย่าเรียงให้ติดกัน พรมน้ำบนลูกสาคูให้ทั่ว นำไปนึ่งประมาณ 7 นาที เมื่อสุกแล้วยกลง พรมด้วยน้ำมันกระเทียมเจียว ทิ้งไว้สักครู่ เอาสาคูขึ้นจากลังถึง ใส่ถาดที่หล่อด้วยน้ำมัน
5. สาคูไส้หมูรับประทานกับผักกาดหอม ผักชี พริกขี้หนู
6. เวลาจัด หยิบสาคูขึ้นจากถาดน้ำมันใส่จานโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว

วีดีโอการทำขนมลูกชุบ

VDO สอนทำขนมลูกชุบ

สูตรขนมตาล






สูตรขนมตาล
 (สูตรดี สูตรเด็ดของเจ๊หลี)
ส่วนผสม
1. มะพร้าวขาวขูด 500 กรัม – คั้นให้ได้กะทิข้น ๆ 2+1/4 ถ้วยตวง( 520 กรัม) (เราใช้กะทิ 1 กระป๋อง ผสมน้ำอีกจนได้สัดส่วน 2+1/4 ถ้วยตวง)
2. น้ำตาลทราย 1+2/3 ถ้วยตวง (275 กรัม)
3. แป้งข้าวจ้าว 2+1/2 ถ้วยตวง (235 กรัม)
4. เนื้อลูกตาล 3/4 ถ้วยตวง (170 กรัม)
5. มะพร้าวแก่ทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือ เตรียมไว้โรยหน้า
เนื้อตาลขวดหนึ่ง ทำขนมได้ 2 – 3 สูตรเลยค่ะ
เริ่มแรกผสมกะทิกับ น้ำตาลทราย นำขึ้นตั้งไฟ จนน้ำตาลละลาย คนต่อไปจนเดือดทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็น ไม่ได้กรองตามสูตรนะคะ เพราะใช้กะทิสำเร็จรูปดูมันสะอาดแล้วค่ะ ความจริงขี้เกียจค่ะ อิ๊ก ๆ แต่ควรที่จะกรอกนะค่ะ ร่อนแป้งข้าวจ้าวแล้วนำมาผสมกับเนื้อตาล ใช้ปลายนิ้วทั้งสิบ เคล้าให้เข้ากัน
ลักษณะที่ได้จะเป็นเม็ด ๆ เหมือนทำแป้งพายเลยค่ะ แล้วใส่กะทิลงไปนิดหน่อย กะประมาณให้สามารถนวดแป้งเข้ากันเป็น dough ไม่ถึงกับแฉะน่ะค่ะ ได้ dough ประมาณนี้ แล้วก็นวดต่อไป เหมือนนวดแป้งขนมปังน่ะค่ะ ประมาณ 25 นาที (ขอแก้จาก 30 นาทีค่ะ คือ เอาอีก 5 นาที ไปนวดต่อในขั้นตอนในรูปต่อไปค่ะ) อย่าขี้เกียจนวดนะคะ เพราะตามประสบการณ์ในการหัดทำขนมไทย ถ้าสูตรบอกว่านวด แล้วเราไม่ทำตาม มักจะไม่ได้ผลที่ดีค่ะ
พอนวดเสร็จ ก็เติมกะทิส่วนที่เหลือลงไปที่ละน้อย นวดแป้งให้ละลายกับน้ำกะทิ จนได้ส่วนผสมเหลว คลุมด้วยพลาสติกอย่างมิดชิด หรือปิดฝาพักไว้จนขึ้นเป็นฟองละเอียดประมาณ 6 ชั่วโมง หรือถ้าจะให้ดี ก็คือเตรียมแป้งตอนกลางคืน ทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วมานึ่งตอนเช้าค่ะ
ให้เตรียมลังถึง ใส่ถ้วย หรือ พิมพ์ที่จะใช้นึ่งขนม ลงไป แล้วนึ่งให้ร้อนจัด ก่อนจะนึ่งขนม แต่ถ้าใช้ใบตองทำกระทง ใส่นึ่งได้เลยค่ะ เจ๊หลีบอกอีกค่ะ

เสร็จแล้วก็ตักเนื้อขนมตาลแบ่งมาประมาณ 1 ถ้วยตวง แล้วใส่ผงฟูประมาณ 1/2 -1 ช้อนชา คนให้เข้ากัน ด้วยช้อนไม้หรือพายยาง ไม่แนะนำให้ใช้ตะกร้อมือค่ะ เพราะตามประสบการณ์แล้ว จะทำให้ขนมไม่ขึ้นฟูมาก เทใส่พิมพ์ (ที่กำลังอุ่นร้อน ๆ ) หากยังมีพิมพ์เหลือที่ว่าง ก็ให้ตักเนื้อขนมตาลออกมาอีก แล้วเติมผงฟู ประมาณ 1/2 -1 ช้อนชา คนให้เข้ากันตามขั้นตอนเดิม พอพิมพ์เต็มหมดทุกอันแล้ว ก็ให้นำขึ้นนึ่งทันที ขั้นตอนนี้สำคัญ แต่ไม่มีรูปให้ดูเลยค่ะ

พิมพ์ที่เราใช้ค่อนข้างใหญ่ ก็เลยนึ่งประมาณ 15-20 นาทีเลยค่ะ ทั้งนี้ให้เช็คด้วยการใช้ไม้จิ้มฟันแทงเนื้อขนมดู หากยังแฉะ ก็ถือว่ายังไม่สุกค่ะ ขนมจะฟูมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของผงฟูที่ใส่ด้วยค่ะ(ตามเคร็ดลับของเจ๊หลี) เราใช้ประมาณ 1/2 ช้อนชาต่อเนื้อตาล 1 ถ้วยตวงค่ะ ท่านไหนที่ชอบฟูมาก ใส่ไปเลย 1 ช้อนชา ขนมจะฟูมาก ๆ จริง ๆ ค่ะ
ได้แล้วค่ะ ขนมตาลเนื้อฟูนุ่ม

ขนมหม้อแกง

สูตรขนมหวานไทย : หม้อแกง



เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* ถั่วเขียว 250 กรัม (เผือก, เม็ดบัว, อื่นๆ)
* น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
* หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
* น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม
* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
* ไข่เป็ด 3 ฟอง
* หอมแดงซอยละเอียด 3 ลูก
* ใบเตย 3 ใบ

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำหอมแดงไปเจียวในน้ำมันจนเหลืองและกรอบ (ระวังไหม้ ควรเจียวด้วยไฟอ่อนๆ )
2. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกไปแช่ในน้ำและนำไปนึ่งจนสุก หรือถ้าใช้เผือกก็ปอกเปลือกและนำไปนึ่งจนสุก จากนั้นจึงนำเผือกไปยีให้เป็นชิ้นเล็กๆ
3. ในชามขนาดกลาง, ผสมไข่ น้ำตาลปี๊บและเกลือ แล้วขยำโดยใช้ใบเตยให้เข้ากันดี น้ำตาลละลายหมด จากนั้นจึงใส่หัวกะทิลงไป ขยำต่ออีกจนส่วนผสมเข้ากันดี แล้วจึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก
4. เอาถั่วหรือเผือกใส่ลงไปในส่วนผสมที่กรองแล้ว และใส่น้ำมันที่เหลือจากการเจียวหอมแดง (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
5. นำส่วนผสมที่ได้ไปกวนด้วยไฟร้อนปานกลางในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอนก็ได้) กวนจนส่วนผสมเริ่มข้นก็พอ ถ้ากวนมากเมื่อนำไปอบจะ ไม่น่าทานเพราะจะแตกมัน ที่เรานำมากวนก็เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนผสมแยกชั้นเมื่อนำไปอบเนื่องจากไข่กับกะทิ ไม่เข้ากันดี
6. นำส่วนผสมที่กวนแล้วไปอบ โดยใส่ถาดหรือแบบที่ต้องการ ใช้ความร้อน 180 องศาเซลเซียส (360 องศาฟาเรนไฮต์) อบประมาณ 30 - 40 นาที จากนั้นจึงนำหอมเจียวไปโรยหน้าและอบต่ออีกประมาณ 5 นาที
7. ถ้าอบโดยใส่ถาดไว้ เวลาเสริฟก็ตัดแบ่งเป็นชิ้นขนาดตามความเหมาะสม ถ้าอบโดยใส่แบบอื่นๆไว้ ถ้าขนาดแบบไม่ใหญ่มาก อาจเสริฟได้พร้อมแบบทันที

ขนมตะโก้

สูตรขนมหวานไทย : ขนมตะโก้

ขนมหวานไทย : ขนมตะโก้

สำหรับทำตัวตะโก้
  •  แป้งถั่วเขียว 1 ถ้วยตวง
  •  น้ำกลิ่นมะลิ 3 ถ้วยตวง
  •  น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
  •  น้ำใบเตยคั้น 1/2 ถ้วยตวง
  •  แห้วต้มหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/2 ถ้วยตวง
  •  กระทงหรือแบบสำหรับใส่ขนม

สำหรับทำหน้าตะโก้
  •  แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
  •  กะทิ 2 ถ้วยตวง
  •  เกลือป่น 1 ช้อนชา
ขนมหวานไทย : ขนมตะโก้     ขนมหวานไทย : ขนมตะโก้แห้ว
 วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. เตรียมทำตัวตะโก้ โดยผสมแป้งถั่วเขียว, น้ำตาลทราย, น้ำใบเตยและ น้ำกลิ่นมะลิ เข้าด้วยกันในหม้อ และนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กวนจนสุกและข้น
2. จากนั้นใส่แห้วจีนต้มที่หั่นเตรียมไว้ลงไปในหม้อ กวนต่ออีกสักครู่จึงปิดไฟ ตักตัวตะโก้หยอดในกระทงหรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ประมาณครึ่งนึงของแบบ
3. เตรียมทำหน้าตะโก้ โดยผสมแป้งข้าวเจ้า, กะทิ และเกลือป่น เข้าด้วยกันในหม้อขนาดเล็ก จากนั้นนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กวนจนข้นพอดี จึงปิดไฟ
4. หยอดหน้าตะโก้ลงบนกระทงหรือแบบให้เต็ม ทิ้งไว้ให้เย็น จัดใส่จานเสริฟเป็นของว่างได้ทันที

ประวัติและความเป็นมาของขนมไทย

   ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไป
ประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง  นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ  งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัด
เป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย  ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง   ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด   ตลอดจนลักษณะที่
กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ

           ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ  เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
โดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน      ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย    ต่อมาใน
สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์          ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ       อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอา
วัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น  วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้
ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ  จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ   แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ   และอะไร
ดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น        เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ     ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช          จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น  สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์
ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น  ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น  หากยังให้
ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย  ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ
ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์

           ขนมไทย   เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี  เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้
เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ       ตั้งแต่วัตถุดิบ  วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน    ในเรื่องรสชาติ สีสัน
ความสวยงาม กลิ่นหอม   รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน   ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตก
ต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ

           ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย    ในพิธีการต่าง ๆ   เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนม
จากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ    งานศิริมงคลต่าง ๆ   เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด
หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่       ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน      เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมี
ฝอยทอง    เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน      ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน      ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู
ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น 

สูตรขนมหวานไทย : สังขยาใบเตย

สูตรขนมหวานไทย : สังขยาใบเตย



* ใบเตยซอยละเอียด 150 กรัม

* ไข่ 1 ฟอง

* นมข้นจึด 2 ถ้วยตวง

* น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง

* น้ำตาล 200 กรัม

* แป้งข้าวโพด 3 ช้อนโต๊ะ

* ขนมปังหรือปาท่องโก๋

(สำหรับทานกับสังขยา)

ขนมครกไทยสู่สากล


รศ.ดร.กมลวรรณ แจ้งชัด ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาหารว่างเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยพัฒนาขนมไทยซึ่งมีคุณลักษณะแสดงถึงเอกลักษณ์ของไทยให้เป็นอาหารว่างสากลสำหรับผู้บริโภคทั่วไป โดยใช้แป้งข้าวกล้องงอกเป็นวัตถุดิบหลัก และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพในการส่งออก อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยแนวความคิดในการพัฒนาเริ่มจากกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ ใช้ข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบหลัก มีเทคโนโลยีและกรรมวิธีการผลิตรองรับ และมีอายุการเก็บรักษานานกว่า 1 เดือน ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวคิดที่ได้ออกมาเป็น “ขนมครกกึ่งสำเร็จรูป” จากนั้นพัฒนาแนวความคิดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จนได้แนวความคิดเป็น “ผลิตภัณฑ์ทาร์ตไท” ในที่สุด
“ผลิตภัณฑ์ทาร์ตไท” ประกอบด้วยสองส่วน คือ เปลือกทาร์ต หรือ ส่วนของถ้วยขนมครก และหน้าทาร์ตผงกึ่งสำเร็จรูป จากการพัฒนาสูตรและกรรมวิธีการผลิต ได้ส่วนผสมในส่วนของแป้งทั้งของเปลือกทาร์ต และหน้าทาร์ต ทำจากแป้งข้าวกล้องงอก ร้อยละ 100 โดยมีกรรมวิธีการเตรียมที่สะดวกและง่ายต่อการนำมาบริโภค โดยผสมน้ำอุ่นลงในส่วนผสมผงของหน้าทาร์ต คนให้เข้ากัน จากนั้นเข้าเตาไมโครเวฟเป็นเวลา 2 นาที เทหน้าทาร์ตลงในเปลือก ตกแต่งหน้าต่างๆ ด้วยแครอท ฟักทอง ข้าวโพด ที่สุกแล้ว ตามใจชอบ หรืออาจโรยหน้าด้วยต้นหอม ผลิตภัณฑ์ทาร์ตไทจะมีกลิ่นหอมของกะทิและแป้งข้าว โดยเฉพาะมีกลิ่นรสกะทิซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของขนมไทย และมีเนื้อสัมผัสกรอบด้านนอก ตามสูตรของขนมครกไทย นับเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาขนมไทยซึ่งยังไม่มีผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จำหน่ายในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
จากการวิเคราะห์คุณภาพของทาร์ตไท พบว่า ผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วยเปลือกทาร์ต 8 ชิ้น และหน้าทาร์ตผงสำเร็จรูป มีกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริค (Gamma-aminobutyric acid, GABA) เท่ากับ 2.70 mg/100g ค่า aw ของเปลือกทาร์ต และหน้าทาร์ตผงกึ่งสำเร็จรูป มีค่า 0.20 และ 0.23 ตามลำดับ จากการตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ พบว่า อยู่ภายใต้มาตรฐานอาหารกึ่งสำเร็จรูป และจากการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่า มีคะแนนความชอบรวมอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก ผลิตภัณฑ์ทาร์ตไทที่พัฒนาขึ้นนี้นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไปสู่ความเป็นสากล เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งใช้วัตถุดิบที่หาได้ในประเทศ เหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไป สามารถทำการตลาดได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชน์ หรือจำหน่ายเป็นชุดอาหารในร้านสะดวกซื้อ อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีพร้อมสำหรับการผลิตในระดับนำร่องโดยใช้เครื่องมือในการขึ้นรูปแบบกึ่งอัตโนมัติ สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และมีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป
อีกไม่นาน ขนมไทย ๆ อย่างขนมครกกึ่งสำเร็จรูปหรือ “ทาร์ตไท” คงจะได้อวดโฉมในตลาดสากล ให้ชาวต่างชาติได้ลองลิ้มชิมรส… ผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม หรือผู้สนใจต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-5625004


ที่มา : http://kanomwanthai.wordpress.com

สูตรขนมหวานไทย : ขนมกลีบลำดวน


วัตถุดิบ

* แป้งสาลี 100 กรัม
* น้ำมันพืช 50 กรัม (หรือเนยขาว)
* น้ำตาลไอซิ่ง 80 กรัม
* สีผสมอาหาร (แล้วแต่ชอบ)
* เทียนอบ


วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
 
1. ผสมแป้งสาลีกับน้ำตาลเข้าด้วยกัน นำไปร่อน 2 ครั้ง เสร็จแล้วใส่น้ำมันพืช (หรือเนยขาว) ลงไปผสม นวดจนส่วนผสมทั้งสามเข้ากันดี
2. ปั้นแป้งเป็นลูกกลมๆขนาดเท่าๆกัน ใช้มีดคมๆแบ่งแป้งเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน
3. จับวางเป็น 3 กลีบ ส่วนอีก 1 กลีบที่เหลือให้ปั้นเป็นลูกกลมๆวางตรงกลางกลีบทั้งสามเป็นเกสร ก็จะได้รูปทรงดอกไม้ ทำเช่นนี้จนแป้งหมด เรียงไว้ในถาด
4. นำแป้งไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 300 องศาฟาเรนไฮต์ประมาณ 10 - 15 นาทีหรือจนสุก จะได้ขนมที่มีลักษณะผิวนวล กรอบ นำไปอบควันเทียนให้หอม ก็พร้อมรับประทานได้ทันที
หมาย เหตุ : ถ้าต้องการกลีบหรือเกสรที่ต่างสีกัน ก็ให้แยกส่วนผสมแป้งในขั้นตอนที่หนึ่ง แล้วผสมสีตาม ที่ชอบขณะใส่น้ำมันพืชลงไปนวด ควรใช้สีโทนอ่อนจะน่ารับประทานมากกว่าสีเข้ม 


 


สูตรขนมหวานไทย : บัวลอย


+ส่วนผสมบัวลอย+

* แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง

* เผือกนึ่งสุกบดละเอียด 1 ถ้วยตวง (กรณีต้องการบัวลอยหลายสีสามารถเลือกใช้ฟักทอง เพื่อทำบัวลอยสีเหลือง, ใบเตย เพื่อทำบัวลอยสีเขียว, อื่นๆ)

* น้ำเปล่า 1/4 ถ้วยตวง

+ส่วนผสมน้ำกะทิ+

* กะทิ 2 ถ้วยตวง

* น้ำตาลมะพร้าว 100 กรัม

* น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง

* เกลือป่น 1 ช้อนชา

* เนื้อมะพร้าวอ่อน, ไข่ (จะมีหรือไม่มีก็ได้)

* งาขาว (สำหรับแต่งหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้)

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ทำบัวลอยโดยผสมแป้งข้าวเหนียว, เผือกนึ่งและน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลมๆ ระหว่างปั้นนั้น ควรโรยด้วยเศษแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบัวลอยติดกัน (ถ้าต้องการทำบัวลอยหลายสีก็ใช้ส่วนผสมเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นฟักทองสำหรับสีเหลือง หรือใบเตยสำหรับสีเขียว เป็นต้น)

2. ต้มน้ำในหม้อขนาดกลาง รอจนเดือดจึงใส่ลูกบัวลอยที่ปั้นไว้แล้ว เมื่อบัวลอยสุกให้นำออกมาแช่ในน้ำเย็น (บัวลอยที่สุกแล้วจะลอยขึ้น)

3. ทำน้ำกะทิโดยผสม กะทิ, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลทรายและเกลือป่นลงไป ควรใส่น้ำตาลทรายแค่ครึ่งเดียวก่อน ถ้ายังหวานไม่พอจึงค่อยใส่เพิ่มลงไป ต้มจนเดือด จึงหรี่ไฟลง นำบัวลอยที่ต้มไว้แล้วใส่ลงไปในน้ำกะทิ ต้มต่ออีกสักพักจึงปิดไฟ ถ้ามีมะพร้าวอ่อนก็ใส่ได้เลย พร้อมลูกบัวลอย (กรณีต้องการทำบัวลอยไข่หวาน ก็ตอกไข่ใส่ไปในหม้อหลังจากที่ใส่บัวลอยลงไป รอจนไข่สุกจึงปิดไฟ)

4. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาขาว เสริฟขณะร้อนหรือรอให้เย็นก็ได้

โครงการอนุรักษ์ขนมไทย "ฝอยทอง"

โครงการอนุรักษ์ขนมไทย "ทองหยอด"